Wikipedia

ผลการค้นหา

adgroup

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเมืองไทยไฮไลท์ที่คสชกั๊กไว้

การเมืองไทยตอนนี้ขึ้นอยู่กับ กกต., การเลือกตั้งระบบพรรคตอบรับสมาชิก และจัดสรรปันส่วน ปัจจุบันตอนนี้ในระยะสั้นเห็นข่าวลงกันช่วงหนึ่ง เรื่องพรรคเล็กพรรคกลาง และแยกกันตี
ระยะยาวก็ติดพันกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ต้องพึ่งพา ส.ว.ที่ คสช.ให้คงไว้ 5 ปีมีสิทธิเลือกนายกฯที่เป็นไปได้ 2 ครั้ง ก็กินเวลาระยะกลางค่อนข้างยาวแล้ว ผู้จัดทำก็เกิดอารมณ์ขัดแย้งขึ้นเสมือนประหนึ่ง กม.รัฐให้เป็นรูปแบบ ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะเปลี่ยนกฏหมายอย่างไรก็ตาม ระยะยาวนานก็เลยติดพันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงระบบสมาชิกของพรรคในการมี กม.รองรับ กับที่มาของที่นั่งของพรรคการเมืองและที่ไม่ใช่พรรคการเมือง สภาล่างกับ สภาสูง เป็นแบบ ลัทธิของสองมองอย่างไรก็สองขั้ว ล่าง สูง ค้าน นำเสนอ หรือแม้แต่ ดี ชั่วแบบทั่วโลก
มีหนึ่งความคิดการเมืองที่พอจะจรรโลงใจในอุดมคติ ระยะยาว พรรคใหญ่ขึ้นอยู่กับสมาชิกเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของการปกครองในรูปแบบใหม่ จะมีสมาชิกเป็นฐานใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พรรคเล็ก พรรคกลางจะโดนเปลี่ยนแนวทางให้เหลือเพียงแค่ปาร์ตี้ลิสต์คือค่าของบุคคลในพรรคขนาดเล็กและกลางไม่ใช่พรรค คือเลือกตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ก่อตั้งเหมือนเลือกพรรค ในหนึ่งความคิดใหม่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ในไทย คือ การตอบรับสมาชิกที่มีผลในระยะยาว เชิงโครงสร้างพรรคการเมืองต้องเป็นประชาธิปไตย ซึ่งสุดติ่งหรือสุดๆของแนวนี้คือ สนับสนุนให้พรรคการเมืองเป็นของสมาชิกทุกคนและถึงขั้นที่สามารถเกิดเรื่องขับไล่หัวหน้าพรรคหรือผู้ก่อตั้งพรรคโดยสมาชิกในพรรคได้ ประมาณนั้น  นี่คือ เจนใหม่ของการเมืองใหม่ ซึ่ง กกต.ต้องรับฟ้อง ไม่ใช่การยุบพรรคอย่างที่พรรคเป็นของใครหรือกลุ่มใคร ตอนนี้คาดหวังว่าเมื่อหมดระยะติด สว.ของ คสช.5 ปี อะไรมันก็เกิดขึ้นได้เพราะ รุ่นเจนเก่ายังมีขั้วอำนาจอยู่ ต้องรอสัญญาณบางอย่าง...
การเมืองไทยต่อจากนี้ ไม่ได้ลบเลือนเรื่องเก่า ระบบระเบียบหรือประเพณีอะไรที่มีมา แต่ได้เหมาเอามาปะปนผสมปนกันเข้า อย่างที่คนทำบทความเองรู้มาบ้าง แต่มีสัญญาณบางอย่างที่ว่า คือ คนรุ่นใหม่ และความคิดใหม่เป็นแนวทางของทุกวิชา ทุกอาชีพ
เมื่อถึงคราวสุดๆหรือสุกงอม และต้องแปรเปลี่ยนเป็น ผู้นำสังกัดการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่คงน้อยคนสำหรับคนที่มีพื้นฐานครอบครัวยากไร้ แต่มากฝีมือจะได้ขึ้นมาให้ความกระจ่างชัดว่านี่คือ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์
<อย่างที่คนทำบทความเองรู้มาบ้างว่า ระบบชนชั้นยังอีกนานและติดทนนานเหมือนใครมาเป็นฮีโร่บอกแก้ไขได้แต่ก็แป๊กแก้ไม่ได้ออกทะเล เพราะระบบระเบียบยังเหนียวแน่นในความเป็นไทย เชิงพุทธที่มีภาษาบาลีสันสกฤตเป็นพื้นฐาน ภาษาไทย ผสมเข้ากับคำศัพท์ต่างชาติ
แต่ยังคง วรรณยุกต์ ที่บ่งบอกถึง ระบบวรรณะอยู่เนียนๆ ท้ังเขตการปกครองในสมัยก่อน มาเป็นรูปแบบภาษา รวมๆแล้ว ชนชั้นเขตการปกครองแบบอินเดีย> ฮา ๆๆ
รถเมล์เก่ากับรถเมล์ใหม่เอามารวมกันใช้ในสังคม การเมืองเก่ากับรูปแบบใหม่เอามารวมกันได้ฉันนั้น
แต่นิสัยการใช้โดยรวมก็ไม่เปลี่ยนประมาณวิสัยการปกครองโดยรวมก็เป็นของ รัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ประมาณนั้น
22/12/2018เคยลำดับเรื่องสำคัญเสมอในการกล่าถึงสังคมบ้านๆในช่วงเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครองต่อ เรื่องราวปากท้องชาวบ้านในแง่มุมเศรษฐกิจการเมืองเป็นความอ่อนไหวของ สังคมในแง่มุมเศรษฐกิจการเมือง ทันทีที่เข้าใจโครงสร้างก็อยากพัฒนาหรือกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงประเด็นต่างๆเข้ามาแทนของเก่าในทุกด้าน อย่างเศรษฐกิจในมุมเศรษฐศาสตร์ ภาครัฐ G ส่งผลต่อทุก sector การเมืองช่วงนี้ G นี้มีอิทธิพลสูงมากและสมัยก่อนก็เคยเป็นมา และก็เปลี่ยนเป็นภาคเอกชน แต่ตอนนี้กลับมาเป็นแบบ G มีอำนาจทั้งหมดอีกแล้ว โดยการเมืองก็ใช่เป็นแบบอำนาจรัฐ และมีความเหมือนเก่า ไม่มีการแปรรูปลดบทบาทองค์กรภาครัฐ G ในภาคเศรษฐกิจอีกต่อไปหรือคงเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะช่วงนี้ ใหญ่มหึมาขึ้นอีกกับภาครัฐ ในตอนนั้นผู้จัดทำเองยังคิดอยู่ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมันดีอย่างนี้นี่เอง
ส่วนบางช่วงของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐศาสตร์การเมืองในเรื่องของ ภาคเอกชน หรือ การบริโภค c จาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจ1 เรื่อยมาสู่ การกระตุ้นผู้บริโภค C จาก c ไป C ตามหลักความต้องการของตลาด และตรงกับหลักการปกครอง ประชาธิปไตยด้วย ในเรื่องความต้องการของ ประชาชน มีรูปแบบขั้นสุดตอนนี้ในเรื่อง มหาชน จำกัด ตามหลักเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวไหนดีระหว่าง รัฐบาล G สะสมทุน หรือต้องมาจากภาคเอกชน สะสมทุน และเป็นไปตามแผนพัฒนาฯในเรื่องกระจายรายได้อย่างไรดี
การเพิ่มขนาด G ตามระบบ รัฐ คสช. เป็นแค่เพียงการเริ่มต้นต่อจากสมัยเดิมยุคหนึ่ง รัฐบาล G กำลังเล่นบทบาทเพิ่มขนาดมากขึ้นและเข้าร่วมกับ ASEAN โดยท่าทีที่จะเป็นรัฐสงเคราะห์ประชาชนอีก 20 ปี ด้วยการมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ แบกรับภาระทั้งหมดกางแผนงานรายได้สูงเป็น ปท.พัฒนาแล้ว และกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างไม่ต้องมีการตรวจสอบใดๆ
ผู้จัดทำได้แต่รอ การเมืองเรื่องของ C ในโมเดลเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมผู้บริโภคหรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตยที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และได้แต่ให้คะแนน G ถึงพฤติกรรมที่ไม่อยากนั้นแต่ เป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่สุด ในเรื่องการใช้จ่าย ภาษี สู่ภูมิภาคต่างๆโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจสำคัญ
<พฤติกรรมผู้บริโภคกับแนวทางเลือกที่หลากหลายของ ปชช.ย่อมดีกว่าเสมอและตอบสนอความต้องการของ ปชช.เอง แน่นอนเครื่องมือ การโหวต การทบทวน การคอมเมนต์วิจารณ์ ในผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ รวมถึงทรัพยากรต่างๆและกระทั่มนุษย์ตัวแทน ฯด้วย>
ยังไม่จบ.รอผลการเลือกตั้ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น